|
|
|
|
พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)
(๒๔๖๔ ๒๕๔๖)
วัดป่าสำราญนิวาส อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
หลวง สอนวงศ์ษา |
|
|
เกิด |
|
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๔ |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร |
|
|
บิดามารดา |
|
นายสนธิ์ และนางสียา สอนวงศ์ษา |
|
|
พี่น้อง |
|
รวม ๖ คน ท่านเป็นพี่ชายคนโต |
|
อุปสมบท |
|
อายุ ๒๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕(มหานิกาย) ณ พัทธสีมา วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้รับฉายาว่า |
|
|
|
ขนฺติพโล ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ วัดเชตวัน อ.เมือง จ.ลำปาง โดยมีพระครูธรรมาภิวงค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาใหม่ว่า กตปุญฺโญ |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
เมื่ออายุได้ ๗-๘ ขวบ ได้ไปปรนนิบัติหลวงลุง ซึ่งเป็นพระมหานิกายอยู่วัดใกล้บ้าน |
|
|
|
|
พร้ามกับเรียนหนังสือไปด้วย จึงมีจิตใจโน้มเอียงมาทางพระพุทธศาสนา จนได้อ่านหนังสือ พระไตรสรณคมน์ ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงมีความเลื่อมใสมากขึ้น
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านมีความขยันอดทน ทั้งปริยัติและปฏิบัติ จนสอบได้ นักธรรมชั้นโท ระยะนั้นหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดพระหลวงจึงได้ไปกราบศึกษาข้อวัตร ปฏิปทา และอุปัฏฐากรับใช้อยู่หลายเดือน ครั้งหนึ่งท่านได้ไปกราบพระธาตุพนม และได้แวะกราบนมัสการหลวงปู่แว่น ธนปาโล ที่อำเภอเมืองสกลนคร จึงได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น จนซาบซึ้งในรสพระธรรม จึงเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือ
ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร หลวงปู่แว่น ธนปาโล ไปในหลายจังหวัดในเขตภาคเหนือ เพื่อฝึกปฏิบัติอบรมกัมมัฏฐานภาวนา จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และในปีเดียวกันก็ได้เป็นเจ้าคณะตำบลอำเภอเกาะคา แม่ทะ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูการุณยธรรมนิวาส และปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่หลวงได้ดูแลรักษา พัฒนาวัดป่าสำราญนิวาส ทั้งทางด้านศาสนสถานและศาสนวัตถุ เทศนาสั่งสอนญาติโยม หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีปฏิปทาอันงดงามเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพเลื่อมใส ศรัทธาของสาธุชน
|
|
|
มรณภาพ |
|
วันจันทร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลา ๐๑.๑๐ น.ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพ สิริอายุได้ ๘๒ ปี
|
|
|
|
๕๓ พรรษา (เฉพาะญัตติธรรมยุติกนิกาย) |
ธรรมโอวาท |
|
|
|
|
...คนเราเกิดมาเป็นคนเลวทรามต่ำช้า ก็เพราะขาดสติปัญญา ศีล ธรรม คนเราเกิดมีความสุขความเจริญ ก็เพราะมีศีล มีธรรม ธรรมภาษิต ของครูบาอาจารย์ว่า กินหลายไม่หายอยาก นอนมากไม่รู้จักตื่น รักผู้อื่นยิ่งกว่าตัวเอง คือ กามตัณหาพาตกทุกข์ ได้ยากในชาตินี้และชาติหน้า นอนมากไม่รู้จักตื่นคือโมหะความหลง หลงในกาม ในกินดิ้นตายอยู่ในโลก...
...ธรรม ทำจริงมีผลอันล้นค่า คือสติปัญญาในธรรม อธรรมิกสูตรว่า คนในโลกขาดศีลธรรม ไม่ตั้งอยุ่ในศีล ในธรรม บันดาลโลกนี้ผิดปกติ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว เดือน ฟ้า ฝน ไม่ตกตามฤดูกาล แห้งแล้ง อายุคนน้อย เกิดตายเร็ว คือมนุษย์อายุสั้น พลันตาย มีผิวพรรณดำไม่ดี มีกำลังไม่แข็งแรง มีความเจ็บไข้มาก ตายเร็ว...
...อุดมคติธรรม ว่า บุคคลเราใจมันง่าว (โง่) บ้าไบ้ ง่าวบอด หลงคลอดอยู่ในหนังบังขี้ มีแต่ทุกข์ตลอดไป สิ่งที่แก้กันได้คือ สร้างศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นในใจ...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|